วันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ความรู้ที่ได้รับจากการฝึกงานในสัปดาห์ที่ 2

ความรู้ที่ได้รับในสัปดาห์ที่ 2 นี้ คือ ได้ทดลองทำงานสารบัญภายในสำนักงาน และยังได้เข้าร่วม ''การประชุมการปฏิบัติการทบทวนแผนที่ยุทธศาสตร์ของสำนักสุขภาพจิตสังคมประจำปี 2553'' ณ นนท์นทีรีสอร์ท แอนด์ สปา จังหวัดนนทบุรี โดยมีประธานคือ นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โดยสาระในการประชุมครั้งนี้ได้ทราบกะบงนการทำงานของสำนักงาน วันที่ 12 พ.ย.52
ได้เข้าร่วม ''การประชุมการวิเคราะห์สถานการณ์ข่าวและประชาสัมพันธ์งานสุขภาพจิตประจำสัปดาห์ ครั้งที่ 5 ปีงบประมาณ 2553'' ในการเข้าร่วมประชุมครั้งนี้สาระที่ได้ คือ แผนการดำเนินงาน และทราบถึงสถานการณ์ต่างๆ ในสังคม ซึ่งอันดับ 1 เป็นเรื่องของความเครียด โดยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มของผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ซึ่งปจจุบันมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ วันที่ 13 พ.ย.52 ได้ออกแบบปก เพื่อใช้ในประชุมที่จะมีการจัดขึ้นในวันจันทร์ที่ 16 พ.ย.52 ในการทำงานชิ้นนี้ได้รับคำชมจากพี่เลี้ยง
ปัญหา
ปัญหา โดยส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีจำนวนไม่เพียงพอต่อการทำงาน และโปรแกรมที่ใช้ในการทำงานไม่พร้อมต่อการทำงาน ทำให้การทำงานเกิดติดขัดในบางงาน
วิธีแก้ปัญหา
เครื่องคอมพิวเตอร์ภายในสำนักงานมีจำนวนไม่เพียงพอต่อการทำงาน จึงต้องนำเครื่องคอมพิวเตอร์ไปเอง เพราะมีโปรแกรมที่ใช้ในการทำงานอยู่พร้อม

เขาคือ ผอ.ของการฝึกงานเดือนนี้

เขาคนนั้นคือ นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน "จิตแพทย์"

ข่าวจาก น.ส.พ.มติชน วันเสาร์

ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 10542

บีบ"ความทุกข์"แล้ว"ความสุข"จะมากขึ้น

คอลัมน์ ลายแทงความสุข

โดย สุพรรณี สมนึก

"ครอบครัว" หน่วยเล็กๆ แต่สำคัญที่สุดในสังคม เพราะเป็น

ที่บ่มเพาะชีวิตน้อยๆ ให้เติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่ดีในอนาคต

ดังนั้นหากในวัยเด็กได้รับ "ความสุข" จากครอบครัว เมื่อ

เติบโตขึ้น "ความสุข" ที่เคยได้รับจึงแผ่ขยายออกไปสู่

สังคม จนกลายเป็น "สังคมแห่งความสุข"



จากเด็กชายเมืองย่าโม (จ.นครราชสีมา) ที่มีพ่อพิการเนื่อง

จากประสบอุบัติเหตุจนเสียขาทั้งสองข้าง มีแม่ที่เป็นโรค

หัวใจ และเสียชีวิตไปก่อนที่จะเห็นลูกๆ เติบใหญ่จนได้รับ

การยอมรับในสังคม แต่ด้วยพลังแห่ง "ความรัก" ในครอบ

ครัว ทำให้เด็กชายคนนี้เติบโตมาเป็นบุคคลที่เปี่ยมไปด้วย

คุณภาพ มากล้นความสามารถ และได้รับการยอมรับจาก

สังคมอยู่ในขณะนี้



เขาคนนั้นคือ นพ.ทวี

ศิลป์ วิษณุโยธิน "จิตแพทย์" และ "พิธีกรรายการสุขภาพ"

ชื่อดัง ล่าสุดเขายังมีตำแหน่งทางราชการเป็นถึง

"โฆษกกระทรวงสาธารณสุข"

กว่าที่ นพ.ทวีศิลป์จะผ่านมาถึงจุดนี้...ไม่ใช่เรื่องง่าย เขา

ต้อง "ฝ่าฟัน" กับความยากลำบากนานัปปการมาอย่าง

หนัก เพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่เขาปรารถนา นพ.ทวีศิลป์จึงมอง

ว่าทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิตที่ได้มา ไม่ใช่เพียงเพราะว่า "โชค

ช่วย" แต่ได้มาจากการ

"ต่อสู้" "มานะ"

และ "พยายาม"

นพ.ทวีศิลป์เล่าความทรงจำในวัยเด็กที่หล่อหลอมตัวเขาให้

เติบโตมาได้จนถึงทุกวันนี้

"ช่วงชีวิตวัยเด็กมีความสุขปนทุกข์อยู่ตลอดเวลา และคง

ไม่มีช่วงชีวิตตอนไหนจะแย่ไปกว่านี้อีกแล้ว เพราะต้องตื่น

แต่เช้ามาเลี้ยงหมู พับถุงขาย และทำทุกอย่างที่สุจริต เพื่อ

ให้ได้เงินมาซื้อข้าวกินและเรียนหนังสือ บางวันจนถึงขนาด

ที่ว่า...พรุ่งนี้ยังไม่รู้จะเอาอะไรมากิน แต่ทุกคนในครอบ

ครัวช่วยกันถีบตัวผ่านจุดนั้นมาได้ "ความทุกข์" ช่วงนั้นมัน

ช่างมหาศาล เพราะครอบครัวเรา พ่อ แม่ และพี่น้อง รวม

ทั้งหมด 7 คน บางวันไม่มีแม้เงินจะซื้อข้าวสารมากรอก

หม้อ ข้าวของเครื่องใช้ในบ้านไม่มีอะไรเลย แต่ก็ยังมีโจร

มาปล้นบ้านได้ ผมยังจำได้ถึงวันที่มีขโมยปล้นบ้าน เขาจับ

พ่อผมมัดไว้ แถมยังขู่จะฆ่าอีก ทั้งที่ได้ทรัพย์สินไปไม่กี่

ชิ้น และเงินที่ได้ไปก็แค่ไม่กี่บาท คงไม่มีอะไรจะเลวร้าย

ไปกว่านี้อีกแล้ว"

นพ.ทวีศิลป์ย้อนอดีตอันแสนเจ็บปวด แต่ใช่ว่า "ความจน"

หรือ "เหตุการณ์" ในวัยเด็กจะทำให้คนอย่าง นพ.ทวีศิลป์

รู้สึกว่าต้องทุกข์ใจอย่างแสนสาหัส

"ความจนไม่ได้ทำให้ผมเป็นทุกข์ เพราะผมมีครอบครัวที่

อบอุ่น แต่ผมกลับคิดได้ว่า "ประสบการณ์" จาก "ความ

จน" ในอดีต ที่ทำให้ผมมีโอกาสได้ "คัดแยก" กองขยะ ที่

บรรดาญาติๆ ซึ่งทำโรงงานเฟอร์นิเจอร์ขนเอามาให้เป็นเชื้อ

เพลิงต้มข้าวให้หมูกิน ทำให้ผมกลายเป็นคนที่ "ละเอียด

อ่อน" "ใจเย็น" และ "ประหยัด" การที่ผมต้องช่วยคนใน

ครอบครัวรื้อกองขยะ เพื่อเอาไม้แผ่นใหญ่มาทำเป็นพื้น

กระดานและฝาบ้าน เอาไม้แผ่นเล็กไปทำบ้านนกกระจอก

เอาเศษไม้และขี้เลื่อยไปทำฟืน ส่วนตะปูที่ปนมาก็คัดแยก

เอาไว้ใช้"

การ "คุ้ยเขี่ย" ทำให้ นพ.ทวีศิลป์รู้จักคำว่า "คุณค่า" ไม่ว่า

สิ่งนั้นๆ จะเป็นอะไรก็ตาม

"ผมโชคดีที่เคยเกิดมาเป็นคนจน ความ "ไม่มี" ในครั้งนั้น

จึงสอนให้ผมมองว่า ทุกข์-สุข ที่มีอยู่ทุกวันนี้ เป็นเพียงเศษ

เสี้ยวนิดเดียว...เพราะที่พ่อแม่ของเราเคยเจอ มันหนักหนา

สาหัสกว่ามาก พ่อแม่ของผมต้องปากกัดตีนถีบ เพื่อส่งลูก

5 คนเรียนจนจบขั้นต่ำปริญญาโททุกคน

พี่ชายคนโตของผมจบปริญญาโทด้านการบริหาร

ส่วนน้องคนสุดท้องจบปริญญาโทด้านสถิติ

อีก 3 คนที่เหลือก็เป็นหมอ ซึ่งทั้งหมดเกิดจากที่เราทุกคน

มองเห็น "คุณค่า" ที่

พ่อสอนไว้ ทำให้เราไม่กล้าเกเร แต่ต้องใฝ่ดี เพื่อไม่ให้พ่อ

แม่ผิดหวัง"

ความสุขในวัยเด็กของ นพ.ทวีศิลป์ไม่ได้อยู่ที่ "เงินทอง"

แต่อยู่ที่ "ครอบครัว" พ่อแม่พี่น้องล้อมวงกินข้าว ทำ

กิจกรรมร่วมกัน จึงทำให้วันนี้ นพ.ทวีศิลป์ให้ความสำคัญ

กับ "ครอบครัวและลูก" เป็นอันดับแรก

"ผมลงทุนปิดคลีนิคย่านวงเวียนใหญ่ เพื่อทุ่มเทเวลาหลัง

เลิกงานให้กับลูกทั้ง 2 คน "พลังของครอบครัว" ไม่มีอะไร

ที่จะสามารถทดแทนได้ ผมเคยคิดน้อยใจว่า...ทำไมพ่อ

เราไม่เป็นข้าราชการ ไม่ใช่เสนาบดี ไม่ใช่เศรษฐี ไม่มี

ฐานะเหมือนเพื่อนๆ ที่มีคนขับรถมาส่งที่โรงเรียน แต่มันก็

เป็นความรู้สึกของเด็กๆ ที่แวบๆ เข้ามาเท่านั้น มาถึงวันนี้...

ผมดีใจที่ครอบครัวเป็นอย่างนี้ เพราะมันทำให้พี่น้องเรารัก

กัน ทำให้เรารักพ่อรักแม่ และเป็นพลังที่เปลี่ยนชีวิตของเรา

ได้"

เมื่อเข้าสู่วัยทำงาน นพ.ทวีศิลป์ยึดคติ

"ทำงานให้สนุกไปกับงาน

จะทำอะไร ใจ สมอง ต้องอยู่กับงานที่ทำ" ด้วย


แนวคิดดังกล่าว ทำให้ นพ.ทวีศิลป์สามารถแบ่งสมดุลใน

ชีวิตการทำงานและครอบครัวได้เป็นอย่างดี ยิ่งเมื่อทำแล้ว

เห็นผลงานที่ทำ ความสุขจึงไม่ได้อยู่ที่มองว่า "ตัว

เอง" ได้ประโยชน์อะไร แต่อยู่ที่ได้ทราบว่า "ผู้อื่น" ได้

ประโยชน์มากน้อยแค่ไหนจากงานที่เราทำ

นอกจากนี้ การเป็น "จิตแพทย์" ทำให้ นพ.ทวีศิลป์ได้รับรู้

ทุกข์ของผู้อื่น และเอาประสบการณ์ของผู้ที่มาปรึกษา

เป็น "ครู" เอาชีวิตของผู้ป่วยและผู้ที่มาปรึกษาปัญหาความ

ทุกข์ อึดอัดคับข้องใจ มาเป็น "บทเรียน" และ "แก้ไข" ตน

เอง

"ผมเอาคนไข้มาเป็นครูสอนใจเรา บางคนที่มาปรึกษารวย

เป็นพันล้านบาท แต่เงินก็ไม่สามารถซื้อความสุขได้ จะมี

เงินเป็นร้อยล้านพันล้าน ก็ไม่ใช่หลักประกันว่าจะมีความ

สุข แต่ความสุขอยู่ที่การอยู่กับครอบครัว ซึ่งทำให้ผมไม่

เคยรู้สึกว่าเป็นทุกข์เลยที่เกิดมาจน"

ด้วยประสบการณ์ ทำให้ นพ.ทวีศิลป์เข้าใจว่า ความทุกข์

เป็นเรื่องธรรมดา หากไม่ทุกข์ก็ถือว่าเป็นความสุข และชีวิต

ที่มีทุกข์น้อย แต่มีความสุขเยอะ นั่นคือความสุข

"คนที่มีความทุกข์หลายคนมองแต่ข้อเสียของความทุกข์

แล้วขยายความทุกข์ออกไปจนคับหัว ทำให้มองความสุข

จากความทุกข์ไม่เห็น ถ้าเรามีความทุกข์ ก็อย่าไปมองแค่

ความทุกข์เลย แต่ให้บีบความทุกข์ให้เล็กลงๆ เรื่อยๆ แล้ว

ความสุขจะมากขึ้นเอง"

จะ "สุข" จะ "ทุกข์" อยู่ที่ "ใจ" และ "มุมมอง" ของเรา!

แล้วท่านล่ะจะเลือกอย่างไหน?